ภาวะการกดไขกระดูกจากพิษของยาเมโธเทรกเซทในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ : รายงานผู้ป่วย

 
 
 
       
   
จักรภพ พงษ์สุวรรณ์
กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร

มนทกานต์ อิทธิอมรเลิศ

ณิชกานต์ ศิริชุมพันธ์
   
   
   
   
   
     
     
    บทคัดย่อ

ภาวะการกดไขกระดูกเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ไม่มากภายหลังการใช้ยาเมโธเทรกเซทในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ แต่เป็นผลข้างเคียงที่รุนแรงและอันตรายถึงชีวิตได้ จึงควรได้รับการวินิจฉัยอย่าง รวดเร็ว โดยการวินิจฉัยภาวะนี้ต้องอาศัยการวัดระดับยาเมโธเทรกเซทในเลือด ซึ่งจะลดลงไปตามเวลาและอาจทำให้ การวินิจฉัยเป็นไปได้ยากหากไม่ได้รับการตรวจรักษาที่ทันท่วงที บทความนี้เป็นการรายงานผู้ป่วยหญิงไทยคู่ อายุ 79 ปี มีโรคประจำตัวเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์และความดันโลหิตสูง ได้รับ การรักษาด้วย ยาเมโธเทรกเซทขนาด 10 มิลลิกรัมต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลาติดต่อกัน  6 เดือน โดยไม่ได้รับ ยาโฟลิกมาก่อน ต่อมามีอาการเลือดออกง่าย จ้ำเลือดตามตัว แผลที่ปาก ถ่ายดำและซีด 1 เดือน ก่อนมาโรงพยาบาลได้รับ การตรวจเพิ่มเติมพบว่า มีภาวะเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดต่ำ (pancytopenia) เบื้องต้นสงสัยว่า อาจเป็นจากภาวะการกดไขกระดูกจากยาเมโธเทรกเซท จึงได้เจาะระดับยาเมโธเทรกเซทในเลือด พบว่า มีค่า<0.02 µmol/L เมื่อทำการตรวจไขกระดูกเพิ่มเติม พบลักษณะคล้ายภาวะมะเร็งเม็ดเลือดขาว แต่ภายหลังการหยุดยาเมโธเทรกเซทและได้รับการรักษาด้วยลิวโคโวรินและโฟลิกเพียง 2 สัปดาห์ พบว่า ผลเลือดผู้ป่วยตอบสนองดีสามารถหยุดการให้เลือดได้ และผลการตรวจโครโมโซมพบผลปกติ จึงให้การวินิจฉัยว่าเป็นภาวะกดไขกระดูกจากยาเมโธเทรกเซท หลังหยุดยาเมโธเทรกเซทแล้ว ได้ติดตาม ผู้ป่วยต่อเนื่องก็ไม่พบว่าเกิดภาวะการกดไขกระดูกอีก
   
   
   
   
 
    Language
 
      English  
      ภาษาไทย  
   
   
     
   
 
    Information
 
      สำหรับผู้อ่าน  
      สำหรับผู้แต่ง  
      สำหรับบรรณารักษ  
   
   
     
 
 
   
       
 
เผยแพร่แล้ว: ธ.ค. 25, 2023
 
 
    Home ThaiJo
 
   
   
   
       
         
     
   ฉบับ  
    ปีที่ 19 ฉบับที่ 2 (2566): กรกฎาคม - ธันวาคม  
 
    Manual
 
      For Author  
      For Reviewer  
     
     
       
       
 
    เว็บไซต์
 
      โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ  
      www.ckphosp.go.th  
       
       
     
   บทความ  
    รายงานผู้ป่วย  
 
       
       
       
         
         
      References  
     

สมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย. แนวเวชปฏิบัติเพื่อการวินิจฉัยและการดูแลรักษา โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ [อินเทอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 26 ส.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://drive.google.com/file/d/1B8sv1jmWU5HanwL1xDVuVeB2rN5d3lth/view

บุษรากร นิลพันธุ์. พิษจากเมทโทรเทร็กเสท (Methotrexate intoxication). จุลสารพิษวิทยา 2557;22:3-6.

Gutiérrez-Ureña S, Molina JF, García CO, Cuéllar ML, Espinoza LR. Pancytopenia secondary to methotrexate therapy in rheumatoid arthritis. Arthritis Rheum 1996;39:272-6.

Morgan SL, Baggott JE, Vaughn WH, Young PK, Austin JV, Krumdieck CL, et al. The effect of folic acid supplementation on the toxicity of low-dose methotrexate in patients with rheumatoid arthritis. Arthritis Rheum 1990;33:9-18.

Boey O, Van Hooland S, Woestenburg A, Van der Niepen P, Verbeelen D. Methotrexate should not be used for patients with end-stage kidney disease. Acta Clin Belg 2006;61:166-9.

Sultan S, Irfan SM, Ashar S. Acute promyelocytic leukemia: a single center study from Southern Pakistan. Asian Pac J Cancer Prev 2015;16:7893-5.

Chen Y, Kantarjian H, Wang H, Cortes J, Ravandi F. Acute promyelocytic leukemia: a population-based study on incidence and survival in the United States, 1975-2008. Cancer 2012;118:5811-8.

Zhao M, Liang L, Ji L, Chen D, Zhang Y, Zhu Y, et al. MTHFR gene polymorphisms and methotrexate toxicity in adult patients with hematological malignancies: a meta-analysis. Pharmacogenomics 2016;17:1005-17.

Hess JA, Khasawneh MK. Cancer metabolism and oxidative stress: insights into carcinogenesis and chemotherapy via the non-dihydrofolate reductase effects of methotrexate. BBA Clin 2015;3:152-61.

 
         
         
         
         
     
     
     
     
     
     
     
  สำนักงานวารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์  
  ชั้น 3 (ภายในห้องสมุดทางการแพทย์) อาคารเวชศาสตร์ฟื้นฟู  
  เลขที่ 8โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ แขวงบางคอแหลม  
  เขตบางคอแหลม กทม. 10120  
  02-2892192 (วันและเวลาราชการ)  
 
 
  บรรณาธิการ  
     นพ.ทิวา เกียรติปานอภิกุล  
  ผู้ประสานงาน  
     นางสาวเพียงพิชญ์ ภู่พงศ์พันธุ์  
     pppp.rmckp@gmail.com  
     นายธาวิต บวรกุล  
     Nothing2fear@outlook.com